นำเข้าสินค้าจากจีน ปัญหาที่เกิดจากการช้อปปิ้งออนไลน์ ยังคงมีให้เห็นกันอยู่บ่อยครั้งบนสังคมโซเชียลมิเดีย ทั้งปัญหาสินค้าไม่ตรงปก ได้รับล่าช้า หรือสินค้าตกหล่น แม้กระทั่งการไม่ได้เห็นสินค้าก่อนซื้อ ก็อาจเป็นปัญหาของการได้สินค้าที่ไม่ถูกใจ
อย่างไรก็ตาม ก่อนคิดจะซื้อของหรือช็อปปิ้งออนไลน์ ลองมาทำความเข้าใจถึงสิทธิประโยชน์ของผู้บริโภคที่พึงได้รับตามกฎหมาย เพื่อที่คุณจะได้รู้เท่าทัน และเรียกร้องสิทธิ์ได้โดยไม่ถูกเอาเปรียบ
Taobaland ผู้ให้บริการนำเข้าสินค้าจากจีน นำเสนอข้อมูลที่เป็นสิทธิประโยชน์ของผู้บริโภค ไม่ว่าคุณช็อปปิ้งจากร้านค้าที่มีหน้าร้านหรือช็อปปิ้งออนไลน์ก็แล้วแต่ สิทธิของผู้บริโภคดังต่อไปนี้ สามารถครอบคลุมทุกรูปแบบของการซื้อสินค้าและบริการ
ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๑ ได้บัญญัติถึงสิทธิของผู้บริโภคที่จะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย 5 ประการ ไว้ว่า
1.ผู้บริโภคมีสิทธิที่จะได้รับทราบข่าวสาร ข้อมูลของคุณภาพสินค้าที่ถูกต้องและเพียงพอ ที่จะไม่หลงผิดในการซื้อสินค้าโดยไม่เป็นธรรม เช่น สิทธิที่จะได้รับการโฆษณา หรือการแสดงตราสินค้าตามความเป็ฯจริง และปราศจากพิษภัยแก่ผู้บริโภค
2. ผู้บริโภคมีสิทธิ และมีอิสระในการเลือกซื้อสินค้าด้วยความสมัครใจของตนเองโดยปราศจากการชักจูงใจอันไม่เป็นธรรม
3. ผู้บริโภคมีสิทธิที่จะได้รับความปลอดภัยจากการใช้สินค้า ได้แก่ สินค้าสภาพดีและคุณภาพที่ได้มาตรฐาน เหมาะสมแก่การใช้งาน ไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิต ร่างกายหรือทรัพย์สิน ในกรณีใช้ตามคำแนะนำหรือระมัดระวังตามสภาพของสินค้านั้นๆ
4. ผู้บริโภคมีสิทธิที่จะได้รับความเป็นธรรมในการทำสัญญาการซื้อ-ขาย โดดยไม่ถูกเอารัดเอาเปรียบจากผู้ประกอบธุรกิจ
5. ผู้บริโภคมีสิทธิที่จะได้รับการพิจารณา ความคุ้มครองและชดเชยค่าเสียหายเมื่อมีการละเมิดสิทธิของผู้บริโภคตามข้อ 1-4 ดังกล่าวมาข้างต้น
อย่างไรก็ตามสิทธิของผู้บริโภคทั้ง 5ประการ ตามที่กฎหมายได้บัญญัติไว้ จะได้รับผลเต็มที่ต่อเมื่อผู้บริโภคได้ปฎิบัติตามคำแนะนำ ดังต่อไปนี้
ก่อนซื้อสินค้าหรือบริการ
■ ผู้บริโภคจะต้องใช้ความระมัดระวังตามเห็นสมควร ในการซื้อสินค้า อาทิ ตรวจสอบการแสดงฉลาก ปริมาณ คุณภาพ และราคาว่ายุติธรรมต่อตนเองหรือไม่? และอย่าเชื่อถือข้อความโฆษณาโดยไม่พิจารณาให้รอบคอบ และหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับคุณภาพ แหล่งกำเนิด และลักษณะของสินค้าว่าเป็นจริงตามที่ได้โฆษณาไว้หรือไม่ ถ้ามีข้อสงสัยหรือไม่แน่ใจ ควรพิจาณาให้ดีก่อน
■ ในการทำสัญญาโดยการลงลายมือชื่อนั้น ผู้บริโภคต้องตรวจสอบความชัดเจนของภาษาที่ใช้ ว่ารัดกุมและให้สิทธิแก่ตนเองครบถ้วนหรือไม่? ตามที่ได้เจรจากันไว้ และสัญญามีเงื่อนไขข้อใดบ้างที่ไม่เป็นธรรมต่อผู้บริโภค ถ้าสงสัยในข้อกฎหมายใดหรือไม่แน่ใจในความชัดเจนของสัญญา ควรปรึกษาผู้ที่มีความรู้ให้แน่ชัดเสียก่อน
■ ข้อตกลงต่างๆ ที่ต้องการให้มีผลบังคับ ควรทำเป็นหนังสือและลงลายมือชื่อผู้ประกอบธุรกิจด้วย
หลังซื้อสินค้าหรือบริการ
■ ผู้บริโภคควรต้องเก็บรักษาหลักฐาน ที่แสดงถึงการละเมิดสิทธิของผู้บริโภคไว้ เพื่อทำการเรียกร้องตามสิทธิของตน ซึ่ง หลักฐานดังกล่าวอาจเป็นสินค้าที่แสดงให้เห็นว่ามีปริมาณหรือคุณภาพไม่เป็นไปตามมาตรฐานที่ระบุไว้ในฉลาก สินค้าสกปรกหรือเป็นพิษ อาจเกิดอันตรายจากการใช้สินค้าหรือบริการนั้นได้ และควรจดจำสถานที่ที่ซื้อสินค้าหรือรับบริการนั้นไว้เพื่อประกอบการร้องเรียนด้วย
■ ต้องเก็บเอกสารสัญญาต่างๆ รวมทั้งเอกสารโฆษณาและใบเสร็จรับเงิน ในกรณีที่มีการทำสัญญาเป็นลายลักษณ์อักษรกับผู้ประกอบธุรกิจ
■ เมื่อมีการละเมิดสิทธิ ผู้บริโภคมีหน้าที่ในการดำเนินการร้องเรียนตามสิทธิของตนตามที่กล่าวมาแล้ว
ที่มาข้อมูล : สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค