Taobao พลิกโฉมธุรกิจค้าปลีกจีน หลังผ่านวิกฤตครั้งใหญ่

Taobao พลิกโฉมธุรกิจค้าปลีกจีน หลังผ่านวิกฤตครั้งใหญ่ - taobaoland taobao Taobao พลิกโฉมธุรกิจค้าปลีกจีน หลังผ่านวิกฤตครั้งใหญ่                       768x402

Taobao จีน ถือเป็นประเทศผู้นำในการฟันฝ่าวิกฤตของ COVID-19 มาได้อย่างรวดเร็ว และดูเหมือนจะกลับเข้าสู่ภาวะปกติเป็นที่เรียบร้อย โรงงานในจีนเริ่มทำการผลิต ผู้บริโภคกลับมาใช้ชีวิต และคนส่วนใหญ่เริ่มออกไปทำงานกันอีกครั้ง

การกลับเข้าสู่สถานการณ์ปกติของจีน อาจตามมาด้วยการเปลี่ยนแปลงบางอย่างแบบถาวรในอุตสาหกรรมค้าปลีก (New Normal in The Retail Industry) รวมถึงกลยุทยุทธ์ที่แบรนด์และผู้ค้าปลีกใช้ดึงดูดผู้บริโภค ก็ดูจะไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป

อย่างไรก็ตาม วิกฤตที่ผ่านมาได้ส่งผลกระทบต่อแบรนด์ต่างๆ ในจีน พฤติกรรมการซื้อของชาวจีน และต่อคนทั่วโลก เนื่องจากจีนเป็นโรงงานผลิตสินค้าของโลก อีกทั้งเป็นตลาดค้าปลีกรายใหญ่ที่สุด มาดูกันว่าอะไรจะเกิดขึ้นกับธุรกิจค้าปลีกหลังจากนี้

ข้อมูลต่อไปนี้ ได้มาจากการสำรวจของผู้ให้บริการชำระเงินบนมือถือย่าง McKinsey และ MIYA
ในการวิเคราะห์ข้อมูล ณ จุดขาย (Point of sale : POS) จากร้านค้า 31,000 แห่ง และการทำธุรกรรม 500 ล้านรายการ ครอบคลุมกว่า 150 เมือง และ 100 ล้านคนในเมืองหวู่ฮั่น และหูเป่ย

จีนยังคงครองตำแหน่ง E-Commerce สูงสุด


E-Commerce ในจีน ยังคงมีสัญญาณการเติบโตที่แข็งแกร่งตลอดในช่วงวิกฤตที่ผ่านมา เนื่องจากผู้บริโภคอยู่ที่บ้านและบริษัทโลจิสติกส์ได้เสนอมาตรการความปลอดภัยเพื่อให้ผู้รับสินค้าเลี่ยงการสัมผัสโดยตรง ข้อมูลจากKantar บริษัทที่ปรึกษาด้านการค้าปลีก เผยว่ายอดขายสินค้าอุปโภคบริโภคบนแพลตฟอร์ม E-Commerce เพิ่มขึ้นอย่างมาก คิดเป็น 39.3% ในขณะที่ร้านค้าออฟไลน์ มียอดขายสินค้าอุปโภคบริโภคลดลง 12.6% YoY (Year on Year)

การใช้งาน E-Commerce ของผู้บริโภคมีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่องอย่างเห็นได้ชัด เนื่องจากผู้บริโภคต้องการช็อปปิ้งบนแพลตฟอร์ม E-Commerce ที่ให้บริการส่งมอบถึงบ้านภายใน 1-2 วัน อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภคดังกล่าว ส่งผลกระทบต่อแบรนด์หรูหลายแบรนด์ที่เดิมทีมีแต่หน้าร้าน (In-Store) ในกรุงปักกิ่ง, เซี่ยงไฮ้, ปารีส และลอนดอนเพื่อเข้าถึงลูกค้าชาวจีน และนักท่องเที่ยว แบรนด์หรูอย่างปราด้า (Prada), อเล็กซานเดอร์ แวง (Alexander Wang ), และคาร์เทียร์ (Cartier) จึงได้เปิดตัวร้านค้าบน Tmall ในช่วงสองสามเดือนที่ผ่านมาเพื่อรองรับพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป
สิ่งนี้เป็นสัญญาณว่าแม้แต่ไฮแบรนด์ ก็ไม่อาจเพิกเฉยต่อการเปลี่ยนแปลงของตลาด E-Commerce ได้อีกต่อไป ซึ่งก่อนหน้านี้แบรนด์หรูเหล่านี้ปฏิเสธที่จะเข้าร่วมในแพลตฟอร์มของอาลีบาบาเนื่องจากกังวลว่าจะไม่สามารถมอบประสบการณ์อันสุดหรูหราให้กับลูกค้าได้ และอีกส่วนหนึ่งเป็นเพราะ E-Commerce ของจีนถูกกล่าวหาว่าด้วยการฉ้อโกงและกลยุทธ์ลดราคาเพื่อกระตุ้นยอดขาย

Live Streaming

ข้อดีของ Live Streaming คือ ช่วยเพิ่มการมองเห็นผลิตภัณฑ์ได้มากขึ้น รวมถึงสามารถแสดงให้เห็นถึงการใช้งานที่ดีกว่า การถ่ายทอดสดเพื่อส่งเสริมการขายบน E-Commerce พุ่งสูงขึ้นอย่างมากในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา ธุรกิจทุกอุตสาหกรรมตั้งแต่แบรนด์เครื่องสำอาง ตลอดจนเกษตรกรในชนบท และร้านขายรถยนต์ต่างก็เริ่มใช้งาน Live Streaming เพื่อให้ธุรกิจของพวกเขาอยู่รอดในภาวะวิกฤต

ไลฟ์สไตล์การบริโภคอาหารกำลังเปลี่ยนไป


วิกฤต Coronavirus ส่งผลดีต่อธุรกิจ Food Delivery ผู้ที่ไม่เคยใช้แอปสั่งอาหารออนไลน์ ถูกบังคับให้กับการใช้บริการเป็นครั้งแรกเนื่องจากถูกล็อคดาวน์ บวกกับจำนวนผู้ใช้งานที่มีอยู่แล้ว ทำให้การสั่งซื้ออาหารออนไลน์เพิ่มเป็นสองเท่า

ข้อมูลจาก Statista เผยว่าร้านขายของชำ New Retail ของอาลีบาบา อย่าง Freshippo หรือเหอหม่า
เป็นการรวมเอาธุรกิจค้าปลีก ภัตตาคารและเดลิเวอรี่แเข้าไว้ด้วยกัน โดยใช้ระบบตรวจจับใบหน้ากับหุ่นยนต์ เพื่ออำนวยความสะดวกในการชำระเงินและด้านโลจิสติกส์ พบว่าคำสั่งซื้อออนไลน์เพิ่มขึ้น 10% YoY ในไตรมาสแรกของปี พุ่งสูงกว่าการค้าปลีกออฟไลน์ ทำให้สร้างยอดขายมากกว่า 60% ของยอดขายทั้งหมด

ในขณะที่ Meituan Dianping แอปพลิเคชันจัดส่งอาหารรายใหญ่ที่สุดและมีชื่อเสียงที่สุดของจีน พบว่ามีคำสั่งจัดส่งอาหารสูงถึง 90% ก่อนวิกฤต Corona Virus รวมทั้งในช่วงเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ปรากฎการณ์ดังกล่าว แสดงให้เห็นถึงพฤติกรรมการบริโภคของชาวจีนกำลังเปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง ไม่เพียงแต่การช็อปปิ้งสินค้าออนไลน์เท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงการสั่งซื้ออาหารออนไลน์อีกด้วย

ที่มาข้อมูล : https://www.chargedretail.co.uk/