Taobao กับ 10 ประเทศทั่วโลก บอกเลิกถุงพลาสติก!

taobao 10ประเทศทั่วโลก_taobaoland taobao Taobao กับ 10 ประเทศทั่วโลก บอกเลิกถุงพลาสติก! 10                                        taobaoland 768x402

Taobao อัพเดทเทรนด์กระแสรณรงค์ที่มีมาอย่างต่อเนื่องกับมาตรการ ‘ลด ละ เลิก’ การใช้ถุงพลาสติกที่เกิดขึ้นในประเทศไทย เมื่อภาครัฐและเอกชนได้เล็งเห็นถึงปัญหาและความสำคัญที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน

จึงได้สนับสนุนให้ห้างสรรพสินค้าและร้านค้าต่างๆ ลด ละ เลิกใช้ถุงพลาสติกตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2563 เป็นต้นไป และหันมาใช้ ‘ถุงผ้า’ แทน ในยามที่ต้องไปจับจ่ายใช้สอย

ถึงอย่างไรก็ตาม ทุกๆ ปี ก็ยังมีปริมาณขยะพลาสติกมากมายมหาศาลอยู่ดี ต้องตระหนักก่อนว่าวิธีกำจัดถุงพลาสติกนั้นไม่ได้ง่ายอย่างที่คิด และยังต้องใช้เวลานานเป็นร้อยปีกว่าที่ถุงพลาสติกพวกนี้จะย่อยสลายได้ ต่อให้มีการใช้ถุงพลาสติกประเภท ‘ใช้ปุ๊บทิ้งปั๊บ’ ก็ยังคงเป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ ต้นเหตุคือการลดใช้ถุงพลาสติก

หลายประเทศทั่วโลก จึงได้มีการออกมาตรการที่เข้มงวด จริงจัง และเด็ดขาด เพื่อให้คนงดใช้ถุงพลาสติก บางประเทศออกเป็นกฎหมายขั้นรุนแรงหรือเปรียบเทียบถุงพลาสติกเป็นภัยร้ายเทียบเท่ากับยาเสพติดเลยทีเดียว และนอกจากนี้ มีเกิน 120 ประเทศ ที่ประกาศมาตรการนี้อย่างเป็นทางการ Taobaoland จึงได้ยกตัวอย่าง 10 ประเทศที่เล็งเห็นถึงปัญหาและผนึกกำลังในการลด ละ เลิกใช้ถุงพลาสติก โดยหันมาคว้าถุงผ้าไปใช้แทน

ประเทศเคนย่า (Kenya)

ได้ประกาศตัวเป็นศัตรูกกับถุงพลาสติกอย่างชัดเจนในปี 2017 และมีการออกกฎหมายบังคับห้ามใช้ถุงพลาสติกอย่างเข้มงวด โดยใครจำหน่าย ผลิต หรือใช้ถุงพลาสติก จะมีโทษจำคุกสูงสุด 4 ปี หรือปรับเงินสูงสุด 38,000 ดอลลาร์ เพราะเคนย่าได้เผชิญกับสถานการณ์วิกฤติคือ ขยะล้นเมือง อันเกิดจากการใช้ถุงพลาสติกเพิ่มขึ้นอย่างน่ากลัว เคยมีการคาดการณ์กันว่า ชาวเคนย่าใช้ถุงพลาสติกในแต่ละเดือนมากถึง 24 ล้านใบ! ทำให้เกิดแคมเปญขึ้นอย่างจริงจัง ผ่านแฮชแท็ก #ISupportBanPlasticsKE จุดเริ่มต้นมาจากช่างภาพนามว่า เจมส์ วากิเบีย ในปี 2015 ก่อนมีกฎหมายออกมาใช้ในที่สุด

อ้างอิงข้อมูล https://www.dw.com/en/visiting-kenya-a-year-into-its-plastic-bag-ban/a-45254144

ประเทศบังคลาเทศ (Bangladesh)

นับเป็นประเทศแรกของโลกที่มีมาตรการแบนถุงพลาสติกขั้นเด็ดขาดในปี 2002 โดยมีกฎหมายห้ามผลิตและให้ถุงพลาสติกแก่ผู้บริโภค หากฝ่าฝืนมีโทษปรับครั้งละ 2,000 ดอลลาร์ เหตุผลที่ต้องทำให้เด็ดขาดเช่นนี้ เป็นเพราะพลาสติกได้อุดตันในท่อระบายน้ำ จนกลายเป็นสาเหตุทำให้บังคลาเทศเจอวิกฤติน้ำท่วมครั้งใหญ่ในปี 1988 และปี 1998 เมื่อบังคลาเทศได้แสดงเป้าหมายชัดเจนในเรื่องนี้ ส่งผลให้อีกหลายประเทศเริ่มออกมาตรการงดใช้ถุงพลาสติกตามมา เช่น รวันดา, เคนย่า, จีน, ไต้หวัน และมาซีโดเนีย

อ้างอิงข้อมูล https://www.worldatlas.com/articles/which-countries-have-banned-plastic-bags.html

ประเทศเกาหลีใต้ (South Korea)

เกาหลีใต้ เป็นประเทศใหม่สำหรับเรื่องนี้ เนื่องจากเพิ่งมีการบังคับใช้กฎหมายลดการใช้ถุงพลาสติกชนิดใช้แล้วทิ้ง เมื่อต้นปีที่ผ่านมา มีคำสั่งห้ามซูเปอร์มาร์เก็ตขนาดใหญ่ทั่วประเทศใช้ถุงพลาสติก หากฝ่าฝืนจะมีโทษปรับเป็นเงินสูงสุด 3 ล้านวอน (หรือประมาณ 87,500 บาท) โดยเกาหลีใต้ มีซูเปอร์มาร์เก็ตขนาดใหญ่ที่เข้าข่ายแล้ว 2,000 แห่ง และซูปเปอร์มาร์เก็ตที่มีพื้นที่ตั้งแต่ 165 ตารางเมตรขึ้นไปอีกจำนวนเกิน 11,000 แห่ง โดยกฎหมายนี้ นอกจากจะปกป้องสิ่งแวดล้อมแล้ว ยังเป็นการสนับสนุนการรีไซเคิลขยะอีกด้วย

อ้างอิงข้อมูล https://resource.co/article/south-korea-latest-country-ban-single-use-plastic-bags-13028

ประเทศรวันดา (Rwanda)

รวันดาว่า เป็นประเทศแรกที่ปลอดการใช้ถุงพลาสติกอย่างสมบูรณ์แบบเป็นเวลา 10 ปี ที่มีคำสั่งห้ามใช้ถุงพลาสติกทั่วประเทศ ไม่เพียงแค่นี้ ยังมีคำสั่งห้ามนำเข้าถุงพลาสติกจากต่างประเทศ โดยนักท่องเที่ยวที่เดินทางมายังรวันดา จะได้รับคำเตือนเรื่องนี้ และต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด ไม่เช่นนั้นจะถูกห้ามเข้าประเทศโดยทันที (ยกเว้นในกรณีใช้ในอุตสาหกรรมที่จำเป็นต่อชีวิตเท่านั้น เช่น โรงพยาบาล)

หากมีการฝ่าฝืนเกิดขึ้นจะต้องถูกดำเนินคดี จำคุกสูงสุด 6 เดือน สำหรับกรณีที่มีการลักลอบนำเข้ามา แม้จะเป็นผู้บริหารที่ใช้ถุงพลาสติก ก็อาจถูกจำคุกนาน 1 ปี และในบางกรณี ผู้ทำผิดกฎหมาย ต้องเขียนจดหมายประจานความผิดของตัวเองด้วย

แน่นอนว่าได้ปฏิบัติอย่างเคร่งครัดอย่างจริงจัง เมื่อผ่านไป 4 ปี ‘กรุงคิกาลี’ เป็นเมืองหลวงของประเทศรวันดา ได้กลายเป็นเมืองท่องเที่ยวที่สะอาดที่สุดและปราศจากการใช้ถุงพลาสติก ขณะเดียวกันนั้นเอง ถุงพลาสติก ได้กลายเป็นสินค้าเถื่อน ที่มีคนยังรับจ้างลักลอบนนำเข้ามาจากประเทศเพื่อนบ้านอย่างผิดกฎหมายจนคล้ายกับว่าถุงพลาสติกได้คล้ายกับยาเสพติดไปแล้ว

อ้างอิงข้อมูล http://america.aljazeera.com/articles/2016/2/25/rwanda-plastic-bag-ban.html

ประเทศแคนนาดา (Canada)

มีข้อมูลเปิดเผยว่า ขยะพลาสติกถูกนำไปรีไซเคิลเพียง 10% เท่านั้น ปริมาณของขยะจึงมากและเลยเถิดกลายเป็นปัญหาต่อสิ่งแวดล้อม ขยะจำนวนมากจึงถูกโยนลงไปในทะเล ซึ่งเป็นอันตรายต่อสัตว์ทะเล ในประเทศแคนนาดาจึงประกาศแบนพลาสติกแบบใช้แล้วทิ้งภายในปี 2021 เพื่อเป็นการแก้ปัญหาอย่างเด็ดขาด ไม่ว่าจะเป็นถุง หลอด ช้อนส้อม จานชาม และบรรจุภัณฑ์ต่างๆ ก็เข้าข่ายนี้หมด โดยมีการเล็งเห็นว่าปัญหาสิ่งแวดล้อมถือเป็นปัญหาเร่งด่วนที่ต้องดำเนินการจัดการแก้ไขให้สำเร็จเป็นลำดับต้นๆ ของแคนนาดา

อ้างอิงข้อมูล https://www.bbc.com/news/world-us-canada-48477087

ประเทศฝรั่งเศส (France)

เมืองน้ำหอมของโลกได้ออกกฎหมายห้ามใช้ถุงพลาสติกและผลิตภัณฑ์ที่ผลิตจากพลาสติกใช้แล้วทิ้ง โดยเริ่มต้นจากซูเปอร์มาร์เก็ตก่อนเป็นอันดับแรก คาดว่าในปี 2020 (เลื่อนมาจากปี 2017) จะให้ประชาชนในประเทศหันมาใช้วัสดุที่ย่อยสลายได้และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมแทนที่พลาสติก เพื่อที่จะก้าวขึ้นเป็นผู้นำด้านสิ่งแวดล้อมโลก เพื่อลบล้างภาพลักษณ์ของประเทศที่เคยมีสถิติตัวเลขเกี่ยวกับการทิ้งแก้วพลาสติกสูงถึง 4.73 พันล้านใบ และใช้ถุงพลาสติกในซูเปอร์มาร์เก็ตสูงถึง 1.7 หมื่นล้านถุง เกิดขึ้นในปี 2015

อ้างอิงข้อมูล https://hipparis.com/2018/12/06/france-expands-single-use-plastic-ban-for-2020/

ประเทศจีน (China)

ดินแดนมังกรของโลก เริ่มใช้กฎหมายควบคุมการใช้ถุงพลาสติกในปี 2008 โดยสั่งห้ามห้างร้านหรือร้านค้าให้ถุงพลาสติกที่มีความบางกว่า 0.25 มิลลิเมตรแก่ผู้บริโภค หรือต้องมีการเก็บค่าธรรมเนียมจากการใช้ถุง เมื่อเวลาผ่านไป 1 ปี ส่งผลให้ห้างร้านใหญ่ๆ ในจีนลดการใช้ถุงพลาสติกสูงถึง 60-80% เท่ากับว่าลดการใช้พลาสติกได้ราว 40 ล้านใบ นอกจากนี้ ยังมีมาตรการสมัครใจให้ประชาชนลดใช้ถุงพลาสติกในวันปลอดการใช้ถุงพลาสติก ที่ผ่านมามีแคมเปญรณรงค์มาโดยตลอด อย่างไรก็ตาม ด้วยจีนนั้นเป็นประเทศที่มีประชากรมหาศาล จึงติดอันดับประเทศที่สร้างขยะถุงพลาสติกมากที่สุดในโลก

อ้างอิงข้อมูล http://www.chinadevelopmentbrief.cn/articles/10-years-on-from-the-ban-on-free-plastic-bags/

ประเทศอินเดีย (India)

เริ่มสั่งแบนการใช้ถุงพลาสติกที่หนากว่า 20 ไมโครเมตร ตั้งแต่ปี 2002 เป็นปีเดียวกันกับบังคลาเทศ โดยเฉพาะประเทศอินเดียถือว่ามีประชากรมากติดอันดับโลก รองลงมาจากประเทศจีน ขยะพลาสติกยังเป็นสิ่งที่คนทั่วไปใช้กัน ทำให้มีปริมาณมากตามไปด้วย ถึงขนาดที่ว่ามีจำนวนเกลื่อนพื้นที ส่งผลให้เกิดการอุดตันตามท่อน้ำ ไม่สามารถระบายน้ำได้จนเกิดน้ำท่วม นอกจากนี้ ยังส่งผลต่อสัตว์อย่างวัว ซึ่งเป็นสัตว์มงคลของผู้นับถือศาสนาฮินดู วัวได้เสียชีวิตจากการเผลอกินถุงพลาสติกที่ได้ปะปนอยู่ในอาหาร

และในปี 2009 กรุงเดลี เมืองหลวงของประเทศอินเดีย ได้ประกาศห้ามใช้ถุงพลาสติกในร้านค้า โรงแรมระดับ 5 ดาว ร้านอาหาร ร้านขายของชำ และโรงพยาบาลขนาด 100 เตียงขึ้นไป ส่วนในปี 2016 กระทรวงสิ่งแวดล้อมและป่าไม้อินเดีย ได้ประกาศห้ามใช้ถุงพลาสติกโพลิเอทิลีน ที่มีความบางกว่า 50 ไมโครเมตร ทำให้หลายๆ รัฐได้ออกระเบียบบังคับใช้ในระดับเทศบาลด้วย

อ้างอิงข้อมูล https://www.nationalgeographic.com/environment/2019/02/india-single-use-plastic-bans-maharashtra-tamil-nadu/

ประเทศไทย (Thailand)

ถึงจะยังไม่มีนโยบายหรือข้อบังคับอย่างชัดเจนจากรัฐบาล แต่สำหรับเอกชน ศูนย์การค้าใหญ่ ร้านสะดวกซื้อ ได้เริ่มรณรงค์งดใช้ถุงพลาสติก เพื่อสร้างพฤติกรรมงดใช้ถุงพลาสติก เปลี่ยนมุมมองหรือทัศนคติและความเคยชิน สิ่งที่เห็นอย่างชัดเจนคือหลายหน่วยงาน ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐหรือภาคเอกชน รวมไปถึงห้างสรรพสินค้า ได้ร่วมกันรณรงค์งดใช้ถุงพลาสติก อาทิ ห้างในเครือเดอะมอลล์ ได้ประกาศขอเป็นเป็นห้างสรรพสินค้าแรกของไทยที่ปลอดถุงพลาสติก ผ่านโครงการ The Mall Group Go Green : Green Everyday งดบริการถุงพลาสติกทุกวัน หรือแม้แต่ 7-Eleven ยังมีโครงการ ‘ลดวันละถุง คุณทำได้’ หากผู้บริโภคเลือกไม่รับถุง จำนำเงินค่าถุง 20 สตางค์เพื่อบริจาคให้กับ 77 โรงพยาบาลทั่วไทย ในขณะที่ Family Mart มีการจำหน่ายถุงกระดาษ โดยหักรายได้จากค่าใช้จ่ายมอบให้กับมูลนิธิอนุรักษ์สัตว์ทะเล ส่วน Max Value ได้มีแคมเปญรณรงค์ส่งเสริมให้ผู้บริโภคใช้ถุงผ้าแทนถุงพลาสติก

ปัจจุบัน ประเทศไทยมีปริมาณของขยะพลาสติกและโฟมสูงถึง 2.7 ล้านตัน (เฉลี่ยประมาณ 7,000 ตัน/วัน) จำแนกเป็นถุงพลาสติก 80% (ประมาณ 2 ล้านตัน) ขยะโฟม 20% (ประมาณ 7 แสนตัน) แน่นอนว่าพลาสติกเหล่านี้ต้องใช้เวลาในการย่อยสลายถึง 450 ปี

อ้างอิงข้อมูล https://www.th.undp.org/content/thailand/en/home/presscenter/pressreleases/2019/no-place-for-plastics-in-sustainable-cities.html

https://www.bltbangkok.com/CoverStory/ถุงพลาสติก-ขยะพลาสติก-ถุงผ้า-ถุงรีไซเคิล-ภาวะโลกร้อน

รู้หรือไม่ว่า ? เมื่อใช้ถุงผ้าแทนถุงพลาสติกในการซื้อของ 1 วัน หรือทำแบบนี้ตลอดทั้งปี ยิ่งช่วยลดการใช้ถุงพลาสติกและขยะพลาสติกลงถึง 100 ล้านถุงต่อปี นอกจากนี้ ยังมีข้อดีมากมาย เช่น ถุงผ้าสามารถรับน้ำหนักได้ดีกว่า มีความทนทาน ไม่ชำรุดหรือขาดง่าย มีอายุการใช้งานยาวนาน ทั้งช่วยลดสารปนเปื้อนที่ก่อให้เกิดโรคมะเร็งเมื่อถุงพลาสติกสัมผัสกับอาหารอีกด้วย

สำหรับถุงผ้าดีไซน์เก๋ๆ สามารถหาซื้อได้จาก Taobao และ Tmall หรือจะเลือกวิธีการสั่งสินค้าที่ง่ายและสะดวกผ่านแพลตฟอร์มสั่งซื้อสินค้าจากจีนอย่าง Taobaoland ที่รองรับการสั่งซื้อกับเว็บ Taobao และ Tmall ช่วยประหยัดเวลาไปได้มาก